วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ขั้นตอน ส3-R3 (Result)

Pattern กล่องแบบสำเร็จ และ โลโก้ผลิตภัณฑ์
 
 
 
 
 
 
 อันแรกเป็นที่รัดบรรจุภัณฑ์ได้1อัน






อันที่สองเป็นแถบรัดบรรจุภัณฑ์กล่อง4อัน
 
 
 
 
 
อันที่สามเป็นแถบวงกลมติดบนบรรจุภัณฑ์มี4สี
 
 
 
 
ได้ออกแบบไว้3แบบ
 
 
 
 
 
 
 
บรรจุภัณฑ์ที่สมบรูณ์
 
 
 
 
 
 
 
 

ขั้นตอน ส2-R2 (Resume)



 
การออกแบบขวดบรรจุภัณฑ์น่้ำตาลมะพร้าวน่้ำหอม
 

การขึ้นรูปขวดบรรจุภัณฑ์ แบบ2มิติ
 


แบบโลโก้ น่้ำตาลมะพร้าวน่้ำหอม
 

ขั้นตอน ส1-R1 (Research)

การวิเคราะข้อมูลผลิตภัณฑ์ด้วยการมอง(Product visual analysis)
ชื่อผลิตภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ตรา ไผ่ริมแคว
 
 
ภาพแสดงโครงสร้างประกอบทางกราฟฟิกของผลิตภัณฑ์สินค้าน้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม 100% ตรา ไผ่ริมแคว

ผลการวิเคราะห์
ก.โครงสร้างของ ตัวบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ปัจจุบัน

หมายเลข1.คือกล่องบรรจุภัณฑ์ แบบพลาสติก ทรงกระบอกมีฝาปิด
1.1 กล่องพลาสติกชนิด หรือพลาสติกชนิด โพลิโอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ
1.2 รูปแบบกล่องพลาสติกเป็นทรงกระบอก 4 เหลี่ยม
1.3 ขนาด มิติ ความกว้าง ยาว หนา
1.4 กล้องมีความแข็งแรง
1.5 กล่องนี้กันอากาศเข้าออกได้
1.6 กล่องพลาสติก ราคา 4-5 บาท


หมายเลข2. คือ แคปซีล  ปิดกล่องพลาสติก
2.1 เป็นแคปซีลชนิดหดตัว
2.2 รูปแบบซีล เป็นซีลที่ใส
2.3 ขนาดของซีล 1 นิ้ว
2.4 แคปซิล 100/แพ็ก ราคา190 บาท
2.5 ซีลนี้เป็นซีลที่ไม่มีรอยแถบดึง ปิด-เปิด
2.6 มีลักษณะทนทาน


หมายเลข3. คือ สีของสติ๊กเกอร์แบรนด์
3.1 เป็นสีเขียว-ขอบขาว
3.2 รูปแบบสติ๊กเกอร์เป็นแบบวงรี
3.3 สติ๊กเกอร์วงรีขนาด 4x6 เซนติเมตร
3.4 ทางด้านขวา มีรูปต้นมะพร้าว
3.5 ทางด้านซ้ายมีรูปมะพร้าว
3.6 แบบสติ๊กเกอร์มีการจักเรียงดูึดอัดเกินไป


หมายเลข4. คือ รูปต้นมะพร้าว
4.1 เป็นรูปสีเขียว-ตัดด้วยสีขาว
4.2 เป็นต้นมะพร้าวน้ำหอม
4.3 อยู่ด้านซ้ายมือ
4.4 มองดูไม่ค่อยชัดเจน
4.5 ไม่ค่อยมีลักษณะเด่น
4.6 มองดูเรียบง่าย


หมายเลข5. คือ ฟอนต์น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม
5.1 ตัวอักษรสีขาว
5.2 เป็นแค่ฟ้อนที่ออกแบบมาธรรมดา
5.3 ใช้ตัวอักษรขนาดที่ไม่ต้องมองหายาก
5.4 มองดูชัดเจน
5.5 บ่งบอกว่าเป็นน้ำตาลมะพร้าว
5.6 มีการจัดเรียงเป็นแบบโค้ง


หมายเลข6. คือ ฟอนต์แหล่งที่อยู่บรรจุภัณฑ์
6.1 ตัวอักษรสีขาว
6.2 เป็นแค่ฟ้อนที่ออกแบบมาธรรมดา ไม่ได้บ่งบอกถึงตัวสินค้า
6.3 ตัวอักษรมีขนาดเล็ก
6.4 มองเห็นไม่ค่อยชัดเจน
6.5 มีการจัดเรียงเป็นแบบโค้ง
6.6 วิสาหกิจชุมชน ต.ทุ่งทอง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี


หมายเลข7. คือ ฟอนต์คุณแดง-เจ๊หนู
7.1 ตัวอักษรสีขาว
7.2 เป็นแค่ฟ้อนที่ออกแบบมาธรรมดา
7.3 บ่งบอกชื่อคนที่จะโทไปติดต่อ
7.4 ใช้ตัวอักษรขนาดที่ไม่ต้องมองหายาก
7.5 มีการใช้เส้นเล่นลายข้างใต้
7.6 มีการใช้เส้นเน้นข้างใต้


หมายเลข8. คือ รูปมะพร้าว
8.1 เป็นรูปสีเขียว-ตัดด้วยสีขาว
8.2 เป็นมะพร้าวน้ำหอม
8.3 อยู่ด้านขวามือ
8.4 มองดูชัดเจน
8.5 มีลักษณะเด่น
8.6 มองดูเรียบง่าย


หมายเลข9. คือ เลข 100%
9.1 ตัวอักษรสีขาว
9.2 เป็นแค่ฟ้อนที่ออกแบบมาธรรมดา
9.3 บ่งบอกว่าทำมาจากมะพร้าวน้ำหอมแท้แน่นอน
9.4 มีลักษณะเด่น
9.5 เพื่อให้เป็นจุดเด่นหรือจุดสนใจ
9.6 ใช้เลขอารบิก


หมายเลข10. คือ ฟอนต์ไผ่ริมแคว
10.1 ตัวอักษรสีขาว
10.2 เป็นชื่อของบริษัทผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าว
10.3 เป็นแค่ฟ้อนที่ออกแบบมาธรรมดา ไม่ได้บ่งบอกถึงตัวสินค้า
10.4 อยู่ตรงกลางของสติ๊กเกอร์เพื่อให้มองเห็นง่าย
10.5 ใช้ชื่อไผ่ริมแควที่เป็นชื่อบริษัทเป็นชื่อยี่ห้อ
10.6 ใช้ฟ้อนขนาดใหญ่ เพื่อให้เป็นจุดเด่นของสติ๊กเกอร์


หมายเลข11. คือ ฟอน์ เจ้าแรกในกาญจนบุรีและเบอร์โทรศัพท์
11.1 ตัวอักษรสีขาว
11.2 เป็นแค่ฟ้อนที่ออกแบบมาธรรมดา
11.3 อยู่ใต้ชื่อยี่ห้อ เพื่อเสริมให้ตัวยี่ห้อดูดียิ่งขึ้น
11.4 เป็นเหมือนการสื่อว่า เป็นเจ้าที่เริ่มต้นบุกเบิกวงการ น้ำตาลมะพร้า
11.5 ใส่เบอร์โทรศัพท์เพื่อการติดต่อที่สะดวกขึ้น
11.6 คำว่าเจ้าแรกเป็นเหมือนการสื่อถึงความอร่อยแบบดั้งเดิม


หมายเลข12. คือ เครื่องหมาย มผช เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
12.1 เป็นเครื่องหมายของสำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
12.2 วันที่ออกคือ 29 พค 2552
12.3 มีระยะเวลาในการรับรอง 3 ปี
12.4 เลขที่ มผช ของน้ำตาลมะพร้าวคือ 5/2546
12.5 ตรา มผช ออกให้โดยกระทรวงอุตสาหกรรม
 


what น้ำตาลพร้าวน้ำหอม


why ประสบ ปัญหาเรื่องตลาดผลไม้ล้นตลาดทำให้ขายไม่ได้ราคาเท่าที่ควร กลุ่มลูกค้ากลับกดราคาต่ำมากจึงมีความคิดว่ามะพร้าวสามารถผลิตน้ำตาลปิ๊บได้ เหมือนกับต้นตาลโตนด


where เลขที่ 55 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งทอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71110 โทรศัพท์ 0-8185-6530


when เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2550


how
1.เริ่มจากการเลือกงวงมะพร้าวที่อยู่ต้นมะพร้าวต้องเป็นงวงมะพร้าวที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อที่จะนำมาทำน้ำตาลใสก่อนอันดับแรก
2.ทำการปาดปลายของงวงมะพร้าวที่เราเลือกแล้ว
3.ทำการโน้มงวงมะพร้าวโดยการใช้เชือกมัดเพื่อที่จะทำให้งวงมะพร้าวสามารถผลิตน้ำตาลใสไหลออกตามท่อของงวงที่เราโน้มได้สะดวก
4.จาก นั้นก็ทำการปาดงวงมะพร้าวโดดใช้มีดที่มีความคมและไม่เป็นสนิมเพื่อให้ได้ น้ำตาลใส ขณะที่ทำการปาดงวงมะพร้าวถ้ากรณีมีลูกมะพร้าวเล็กๆติดที่งวงก็ต้องทำลายทิ้ง เพื่อไม่ให้ดูดน้ำตาลใสไปเลี้ยงลูกมะพร้าวได้งวงมะพร้าวที่สมบูรณ์และพร้อม ที่จะผลิตน้ำตาลใสได้เต็มที่
5.ทำ การมัดหรือตกแตงงวงมะพร้าวที่เราปาดในขั้นตอนที่ 4 เพื่อให้ดูเรียบร้อย ในขณะเดียวกันต้องสังเกตด้วยวาพอเราปาดงวงไปแล้วนั้นน้ำตาลใสหยดจากงวง มะพร้าวหรือไม่ ทำการตกแตงงวงมะพร้าวที่เราโน้มและปาดงวงเพื่อในดูสวยงามและให้ดูเรียบร้อย
6.นำกระบอกที่สะอาดๆ ที่เราเตรียมไว้มารองรับน้ำตาลใสที่หยดออกมาจากงวงที่เราปาดในขั้นตอนที่ 5
7.พอได้น้ำตาลใสเราก็นำน้ำตาลใสมากรองเศษขยะออกโดยใช้ผ่าขาวบางกรอง จากนั้นก็นำน้ำตาลใสที่เรากรองแล้วมาเคี่ยวไฟที่มีอุณหภูมิที่
ร้อนจัดในขณะก้อนเคี่ยวต้องเติมสวนผสมน้ำตาลทรายลงไปด้วย เคี่ยวที่อุณหภูมิที่ร้อนจัด
8.เมื่อเคี่ยวจนได้ที่แล้วจากนั้นก็นำน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนำมากรองเศษผงอีกรอบแล้วนำเข้าเครื่องปั่นจนกระทั้งเป็นเนี้อเดียวกันแล้ว
9.ขั้นตอนตอไปก็นำน้ำตาลที่ปั่นแล้วมาหยอดใสภาชนะตามที่เราต้องการเช่น ถ้วย หรือ ภาชนะอี่นๆ
10.ขั้นตอนสุดท้ายปล่อยให้น้ำตาลเย็นแล้วทำการใส่ถุงหรือ
บรรจุภัณฑ์ที่สวยงามแล้วนำออกจำหน่ายหรือรอออเดอร์จากลูกค้าต่อไป


how much ปิ๊บ ปริมาณ 29 กิโลกรัม ราคา 800 บาท , พลาสติกใส 800 กรัม ราคาขายส่ง 35 บาท ราคาขายปลีก 45 บาท , พลาสติกใส 1000 กรัม ราคาขายส่ง 30 บาท ราคาขายปลีก 38 บาท

ความต้องการของผู้ประกอบการ
 
ผู้ประกอบการได้บอกปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของไฝ่ริมแควว่ามันธรรมดา
แล้วเคยมีลูกค้าเคยถามว่าน้ำตาลที่ได้ถุบแล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติกว่ามันเป็นเศษของน้ำตาลรึเปล่า
ความต้องการของผู็ประกอบการเขาต้องการให้สินค้าของเขานั้นมีรูปลักษณ์ที่สวยงาม
มีชาวญี่ปุ่นเคยมาติดต่อให้เขาส่งออกต่างประเทศและส่วนหนึ่งต้องการให้สินค้าของไฝ่ริมแควนั้น
ขึ้นไปขายห้างสรรพสินค้าอยากได้สินค้าที่ตอนรับสู้สมาคมอาเซียนเรื่องแบรนด์นั้นขึ้นอยู่กับนักออกแบบ
ว่าจะเปลื่ยนหรือไม่ก็ได้เรื่องของราคาต้นทุนนั้นเขาบอกว่าไม่ได้กังวล(แต่ถูกหน่อยก็ดี)
ถ้าสินค้าที่ออกแบบสวยเขาก็พร้อมลงทุน

รายงานสรุปผลการเรียนวิชาออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555



กระบวนการออกแบบ โดย ผ.ศ. ประชิด ทิณบุตร



อ้างอิงโดย ผ.ศ. ประชิด ทิณบุตร : 2555





ปฐมนิเทศวิชา สัปดาห์แรกของการเรียน week1-1-2555

สัปดาห์แรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ ภาคเรียนที่ 1/2555 คราวนี้มี 2 กลุ่ม เปิดจำนวนเต็มไว้แค่ 35 คนต่อกลุ่ม ปรากฏว่าล้นห้องต้องขยายเป็น 45 คนต่อกลุ่มลงทะเบียน และมีกลุ่ม ภาคนอกเวลาอีก 1 กลุ่ม ก็มีผู้เรียนร่วมร้อยกว่าคนที่แจ้งลงทะเบียนในระบบไว้ และแน่นอนครับเป็นการรวมรุ่นนับแต่รหัส 2550 เป็นต้นมา บางคนอาจารย์ก็คุ้นหน้ามากๆเลย แสดงว่าวิชานี้ฮอตมาก จนล้นไล่ให้ไปเรียนกับภาคนอกเวลา แต่ละกลุ่มก็เข้าเรียนประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มแรก 37/45 กลุ่มสอง 42/45 และนอกเวลาก็น้อยหน่อย แค่18/27 ตามตารางเรียนจันทร์-พุธที่ห้องคอมพิวเตอร์ 323-324 ของคณะมนุษย์ฯ

กิจกรรมในครั้งนี้ก็ตามเกณฑ์มาตรฐานเดิม แต่จะเข้มขึ้นอีก เริ่มด้วย
1. การปรับพื้นฐานทักษะการบริหารจัดการความรู้ (Basic Information Management Skill) การสื่อสารส่วนบุคคลและการสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นระบบเดียวกัน (Personal Communication Chanel and Social Network System Skill) โดยกำหนดเป็นข้อตกลงให้ทุกคนต้องฝึกฝนทักษะปฏิบัติการ การรับรู้และรับส่งข่าวสารด้วยการใช้งานเครื่องมือฟรีจากระบบออนไลน์(Cloud Management Tool)ที่ได้มาตรฐานสากลคือจากระบบบริการของ Google เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกมิติ
2. ให้ทำแบบสำรวจก่อนเรียน( เข้าทำ/ดูจากเมนูแบบสำรวจด้านบน) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 นี้
3. การให้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม(Workgroup) โดยให้แบ่งกลุ่มทำงานร่วมกัน

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ที่มาของโครงการ

ฟอนต์ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้รองรับภาษาไทย จนทำให้เกิดการใช้งานในทุกๆ ส่วนของสังคมอย่างทั่วถึง

ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งในระบบเปิด (Open Source Software) และระบบปิด (Commercial Software) ล้วนต้องใช้ฟอนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนใหญ่ มักจะเป็นฟอนต์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows และระบบปฏิบัติการ Mac OSX ซึ่งเป็นฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ มีบางฟอนต์ที่ผู้พัฒนาอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ฟอนต์ที่พัฒนาโดยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และฟอนต์ที่พัฒนาจากโครงการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)

ในส่วนของนักพัฒนาฟอนต์เองก็มีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนโดยตรงในสถาบันการศึกษา นักพัฒนาฟอนต์เหล่านี้จึงต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เอาเองอย่างไร้การ สนับสนุนจากสังคมทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันจะนำไปสู่ปัญหาคุณภาพของฟอนต์ที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย

ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จึงคิดโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่” นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ๆ และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟอนต์ ให้มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาฟอนต์ภาษาไทยอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ โดยจัดครั้งแรกขึ้นในปี 2554 ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

1) วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านอักขระภาษาไทย เพื่อมีแบบตัวพิมพ์ไทยให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หลากหลาย อ่านได้ง่าย สวยงาม และเหมาะกับเนื้อหาของงาน
- ส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่ โดยการสร้างเวทีสำหรับการแข่งขันประชันผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
- ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สำหรับนักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย อันประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักศึกษา นักออกแบบ บริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ ผู้ใช้ เครือข่ายสื่อต่างๆ และทรัพยากรบุคคลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน

2) การดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยผ่านเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบกราฟิก และการใช้ฟอนต์
- นักออกแบบฟอนต์ จะส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ชนิด PDF โดยผ่านทางเว็บไซต์ที่ชมรมฯ เตรียมไว้สำหรับการรับผลงาน ซึ่งมีระบบคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาของผู้ออกแบบฟอนต์เป็นอย่างดี
- ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน
• ผลงานออกแบบฟอนต์ ไม่จำกัดประเภท ได้แก่ ตัวเนื้อความ, ตัวพาดหัว, ตัวแฟนซี ฯลฯ
• ผลงานให้เรียงเป็นข้อความสั้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด บนพื้นที่กระดาษขนาด A3
- คณะกรรมการคัดเลือก ทีึ่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำหน้าที่คัดเลือกผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 20 คน เพื่อรับโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ และผู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ เป็นเวลา 1 วัน
- เผยแพร่ผลงานและข้อมูลของผู้ออกแบบ ผ่านทางเว็บไซต์ของชมรมฯ และเครือข่ายพันธมิตร

3) กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวด
- นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชา lettering design และ typography
- นักออกแบบกราฟิก และบุคคลทั่วไปที่สนใจการออกแบบตัวพิมพ์

4) แผนการดำเนินงาน
- 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2555
• ติดต่อประสานงานเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ fOnt.com, เครือข่ายใน facebook, ผู้เคยเข้าร่วมกิจกรรมประกวดแบบตัวพิมพ์ของชมรมฯ และของกรมทรัพย์สินทางปัญญา, บริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์, อาจารย์และสถาบันการศึกษาทีเปิดสอนวิชา lettering design และ typography, นิตยสาร iDesign, Computer Art ฯลฯ
• แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผลงาน
- 15 พ.ค. 2555 เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการ
- 15 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2555 รับผลงานผ่านทางเว็บไซต์ www.tepclub.org
- 1-3 ก.ค. 2555 คัดเลือกผลงาน
- 5 ก.ค. 2555 แจ้งผลการคัดเลือกถึงผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ผ่านเกณฑ์ (รวม 50 คน)
- 21 ก.ค. 2555 กิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ (80-100 คน) ประกอบด้วย การสัมมนาวิชาการ กิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายฟอนต์ และการมอบโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ

5) ตัวชี้วัด
ด้านจำนวนผู้เข้าร่วมและจำนวนผลงาน
- มีผู้ส่งผลงานไม่น้อยกว่า 150 คน จำนวนผลงาน ไม่น้อยกว่า 200 ผลงาน
- มีผลงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ไม่น้อยกว่า 20 ผลงาน

ด้านเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย
- มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 สถาบัน
- ได้รับความสนับสนุนจากบริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์
- ได้รับความสนับสนุนจากสื่อต่างๆ เช่น fOnt.com และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก

6) การสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์
6.1) กิจกรรมสัมมนาวิชาการ
- ความรู้เรื่องฟอนต์สำหรับสือใหม่ (เว็บไซต์, eBook)
- ประสบการณ์ในการออกแบบตัวอักษรไทย และละติน (Latin)
- ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสร้างฟอนต์
- การทำตลาดฟอนต์ (ในประเทศและต่างประเทศ)
- ความเห็นเรื่องฟอนต์จากฝั่งนักออกแบบกราฟิก (ผู้ใช้ฟอนต์)
6.2) กิจกรรมสร้างเครือข่าย
- จับคู่นักออกแบบและบริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์
- แนะนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ – fOnt.com และ facebook และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
- สร้างการมีส่วนร่วมของ resource persons ในเครือข่ายฟอนต์ โดยการเป็นวิทยากร การเป็นพี่เลี้ยงให้นักออกแบบรุ่นใหม่





ขั้นตอนการออกแบบ Font ชื่อฟรอนต์ "Autsawat"
1.ออกแบบ Font สแกนลงในโปรแกรม Adobe Illustrator CS4


ที่มาของภาพ : นาย อัฏษวัส ศรีทองอยู่





2.ดราฟงานที่เราสแกนลงไว้ในโปรแกรม Adobe Illustrator CS4

ที่มาของภาพ : นาย อัฏษวัส ศรีทองอยู่

3.ลงน้ำหนักแบบเขียนที่เราดราฟไว้ให้เป็นตัวอักษร


                                                        ที่มาของภาพ : นาย อัฏษวัส ศรีทองอยู่

4. ผลงานเสร็จสมบูรณ์
  ที่มาของภาพ : นาย อัฏษวัส ศรีทองอยู่

กระบวนการคิด
คือการคิดฟรอนต์ในรูปแบบตัดทอนโดยใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมเป็นแกนหลักโดยนำเอารูปทรงกลมและรูปทรงสี่เหลี่ยมมาตัดทอนในแบบของตัวเองซึ่งจะออกแบบในรูปแบบเฉพาะอาจจะดูแปลกๆตาไปบ้าง
ตัวอักษร ก.ไก่ ได้ออกแบบในทุกตัวเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมสี่ดำก่อนแล้วทำรูปทรงวงกลมมาตัดทอนให้ดูเป็นตัว ก.ไก่
ตัวอักษรตัวอื่นภาษาไทย คือ ชวนอวดอักษรไทยให้ปรากฏจริง ก็ได้ยึดให้รูปทรงสี่เหลี่ยมสีดำยืนพื้นแล้วนำเอารูปทรงกลมและรูปทรงสี่เหลี่ยมนำมาตัดทอนในรูปแบบเฉพาะในรูปแบบของตัวเอง


ตัวอักษรตัวอื่นภาษาอังกฤษ คือ Hamburgefonstiv ก็ได้ยึดให้รูปทรงสี่เหลี่ยมสีดำยืนพื้นแล้วนำเอารูปทรงกลมและรูปทรงสี่เหลี่ยมนำมาตัดทอนในรูปแบบเฉพาะในรูปแบบของตัวเอง